วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

ระบบจัดการฐานข้อมูล



ระบบจัดการฐานข้อมูล



ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML) หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น

หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล
-แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
-นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
-ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
-รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
-เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาตา (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
-ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพได้นะ
-ควบคุมสถานะภาพของคอมพิวเตอร์ในการแปลสถาพฐานข้อมูล ส.ท


องค์ประกอบของระบบจัดการฐานข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูลจำแนกเป็นย่อยๆ ได้หลายส่วน โดยแต่ละส่วนจะทำงานร่วมกันได้ หรือในบางกรณีอาจเป็นงานเฉพาะส่วนย่อยๆ จากภาพประกอบแสดงองค์ประกอบหลักของระบบจัดการฐานข้อมูล สัญลักษณ์รูปทรงกระบอกแสดงองค์ประกอบต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวระบบจัดการฐานข้อมูลทั้งหมด ได้แก่
Authorized User Profiles AUP เป็นองค์ประกอบด้านการจัดการควบคุมตัวผู้ใช้ระบบใครสามารถอ่านข้อมูลชุดใดได้ เช่น การกำหนดรหัสผ่าน (password) ให้กับผู้ใช้ระดับต่างๆ ในองค์กร
Catalogued Queries/Report/Lable (CQRL) เป็นส่วนที่ควบคุมจัดการด้าน การเลือกค้นหาข้อมูลที่ต้องการ การทำรายงานตารางสรุปต่างๆ ซึ่งจะจัดตามคำร้องขอของผู้ใช้ระบบและออก Output ที่ต้องการ
Transaction and Screen Definition เป็นชุดโปรแกรมที่ควบคุมจัดการด้านการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ทางจอภาพ หรือทำตามคำขอต่างๆ ของผู้ใช้ระบบ
User’s Application Program เป็นชุดโปรแกรมเฉพาะด้าน สร้างเพื่อใช้งานเฉพาะภายในหน่วยงานหนึ่งในองค์การ หรือตามความต้องการเฉพาะด้านของผู้ใช้ระบบในบางระดับ
Data Definition และ Store Database เป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบเป็นส่วนที่เก็บ Data dictionary และตัวข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ


แนวคิดเกี่ยวกับฐานข้อมูล
              ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดเก็บในที่เดียวกัน ซึ่งแต่เดิมถูกจัดเก็บอยู่ในแต่ละแฟ้มข้อมูลเป็นระบบแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูลมีความจำเป็นในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบแฟ้มข้อมูล ได้แก่ ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความขัดแย้งของข้อมูลความยากในการแก้ไขและบำรุงรักษา การผูกติดกับข้อมูล การกระจายของข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลลดลง
             ในงานฐานข้อมูลจำเป็นต้องเข้าใจหลักการฐานข้อมูลให้ถูกต้อง ตรรกะ คือ สิ่งที่โปรแกรมหรือผู้ใช้เห็น กายภาพเป็นสิ่งที่ระบบปฏิบัติการเห็น ฐานข้อมูล คือ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สคีมา คือ โครงสร้างฐานข้อมูล อินสแตนซ์ คือ เนื้อข้อมูล แบบจำลองข้อมูล คือ โครงสร้างข้อมูลระดับตรรกะที่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลให้ผู้ใช้เห็น เอนทิตี คือ สิ่งที่เราสนใจเก็บข้อมูลเกี่ยวข้องด้วยแอตทริบิวต์ คือ คุณลักษณะของเอนทิตี
               ระบบฐานข้อมูลมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล และ บุคลากร โดยบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการการบริหารฐานข้อมูล  คือ ผู้บริหารฐานข้อมูล
            คุณลักษณะของระบบฐานข้อมูล คือ มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลน้อยสุด มีความถูกต้องของข้อมูลสูงสุด มีความปลอดภัยของข้อมูลสูงสุด มีความเป็นอิสระของข้อมูล และมีการควบคุมจากศูนย์กลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น